Page 2 - นวัตกรรมกครูกาญจนา คิง
P. 2
ก
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ SIMAA Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ
เรื่อง การฟ้อนนาฏยประดิษฐ์ บูชาพระธาตุเชิงชุม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน นางกาญจนา คิง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ SIMAA Model เพื่อส่งเสริม
้
ทักษะปฏิบัติ เรื่อง การฟอนนาฏยประดิษฐ์ บูชาพระธาตุเชิงชุม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาทักษะการปฏิบัติ เรื่อง การฟ้อนนาฏยประดิษฐ์ บูชาพระธาตุเชิงชุม ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีนักเรียนจำนวนร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม
ึ
และ 3) ศึกษาความพงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ SIMAA Model เพื่อส่งเสริมทักษะ
้
ปฏิบัติ เรื่อง การฟอนนาฏยประดิษฐ์ บูชาพระธาตุเชิงชุม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” สังกัด
สำนักการศึกษาเทศบาลนครสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 17 คน
ได้มาจากวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้
ในการศึกษา ได้แก่ 1) การพฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ SIMAA Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ เรื่อง
ั
้
การฟอนนาฏยประดิษฐ์ บูชาพระธาตุเชิงชุม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน จำนวน 12 ชั่วโมง 3) แบบประเมินภาคปฏิบัติ และ 4) แบบสอบถามความ
พึงพอใจของนักเรียนจำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ SIMAA Model เพอส่งเสริมทักษะปฏิบัติ เรื่อง การฟ้อนนาฏย
ื่
ประดิษฐ์ บูชาพระธาตุเชิงชุม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นชื่อว่า
“SIMAA” มีองค์ประกอบ 5 ประการ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นที่ 1 นำเสนอสิ่งเร้า (Stimulus) ขั้นที่ 2 สาธิต ทำตามแบบ (Imitation Copy Action) ขั้นที่ 3 ลงมือปฏิบัติ
โดยไม่มีแบบ (Manipulation) ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ใหเทคนิควิธีการ (Articulation) ขั้นที่ 5 การปรับปรุง
และประยุกต์ใช้ (Adaptation) 4) การวัดและประเมินผล มีผลการประเมินความสอดคล้องในระดับมากที่สุด
( X=4.65, S.D.=0.49)