Page 6 - นวัตกรรมกครูกาญจนา คิง
P. 6
1
แบบรายงานการสร้างนวัตกรรม
1. ชื่อนวัตกรรม
รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ SIMAA Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ เรื่อง การฟ้อน
นาฏยประดิษฐ์ บูชาพระธาตุเชิงชุม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2. ผู้สร้างนวัตกรรม
ชื่อ นางกาญจนา คิง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพเศษ
ิ
สังกัด โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” อำเภอเมืองสกลนคร
จังหวัดสกลนคร เบอร์โทร 0655405915
Email Kanchana.king19@gmail.com Line ID 0655405915
3. แนวทางการคิดค้นนวัตกรรม
แสวงหานวัตกรรม/แบบอย่างที่ดีจากแหล่งต่าง ๆ ที่เคยมีผู้สร้างไว้ แล้วนำมาปรับปรุงพัฒนาต่อยอด
การสร้างนวัตกรรมใหม่
4. ประเภทของนวัตกรรม
การบริหารจัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตาม และประเมินผล
5. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในสถานการณ์ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้านตามยุคโลกาภิวัฒน์ที่ส่งผลให้ศิลปวัฒนธรรม
ของตะวันตกหลั่งไหลเข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมและวิถีชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในหมู่
เยาวชน เป็นเหตุให้เยาวชนไทยบางส่วนอาจจะละทิ้งคุณค่าที่ดีงามของศิลปวัฒนธรรมไทย ด้วยเหตุนี้ การ
อนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่และสืบทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่
กระทรวงศึกษาธิการในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้บรรจุวิชา
นาฏศิลป์ไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ การ
คิดที่เป็นเหตุเป็นผลถึงวิธีการทางศิลปะ ความเป็นมาของรูปแบบ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และรากฐานทาง
วัฒนธรรม ตระหนักในคุณค่า และเกิดความซาบซึ้งในคณคาของศิลปะ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551: 2)
่
ุ
ผู้รายงานในฐานะเป็นครูผู้รับผิดชอบการจัดการเรียนรู้ในวิชานาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” สังกัดเทศบาลนครสกลนคร โรงเรียนมีจุดเด่น คือมีวงดนตรี
– นาฏศิลป์พื้นเมือง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของชุมชน เป็นตัวแทนของเทศบาลนครสกลนครไปแสดงในงานประเพณี
่
สำคัญของจังหวัดสกลนคร เช่น งานประเพณีนมัสการพระธาตุเชิงชุมและหลวงพอพระองค์แสน แต่จุดด้อยคือ
ั
นักเรียนรุ่นใหม่ยังขาดทกษะการปฏิบัติการฟ้อนรำที่สวยงาม ดังนั้นจึงมีความต้องการพฒนาให้นักเรียนได้
ั
เรียนรู้ ฝึกทักษะปฏิบัติ และรักนาฏศิลป์ มีความตระหนักในคุณค่าและเกิดความซาบซึ้งในศิลปะ และส่งเสริม
ให้อนุรักษ์วัฒนธรรมของท้องถิ่นจังหวัดสกลนครให้คงอยู่สืบไป
ดังนั้นผู้รายงาน จึงได้ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการฟอนรำของภาคอีสาน เพื่อนำมาประดิษฐ์ปรับปรุง
้
้
ท่าฟอน และดนตรีให้เข้ากับยุคสมัยอยู่เสมอ เพื่อเป็นผู้สืบทอดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของจังหวัดสกลนคร
โดยได้พัฒนาการฟอนนาฏยประดิษฐ์ บูชาพระธาตุเชิงชุม ซึ่งวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหารเป็นวัดประจำจังหวัด
้
้
สกลนครที่บุคคลในท้องถิ่นจะเข้าไปสักการะอยู่เสมอ การฟอนบูชาพระธาตุเชิงชุม เดิมใช้ท่ารําแม่ท่า ภาษาท่า