Page 8 - นวัตกรรมกครูกาญจนา คิง
P. 8
3
6. วัตถุประสงค์
6.1 เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ SIMAA Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ เรื่อง
้
การฟอนนาฏยประดิษฐ์ บูชาพระธาตุเชิงชุม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
6.2 เพื่อศึกษาทักษะการปฏิบัติ เรื่อง การฟ้อนนาฏยประดิษฐ์ บูชาพระธาตุเชิงชุม ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีนักเรียนจำนวนร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม
6.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ SIMAA
Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ เรื่อง การฟ้อนนาฏยประดิษฐ์ บูชาพระธาตุเชิงชุม กลุ่มสาระการเรียนรู้
ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
7. กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” สังกัดเทศบาล
นครสกลนคร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 มีนักเรียนทั้งหมด 20 คน
8. หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้
8.1 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
8.1.1 ทำไมต้องเรียนศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมี
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อ
คุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรมทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม
ตลอดจน การนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐาน ใน
การศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้
ุ่
8.1.2 เรียนรู้อะไรในศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมงพฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความ
ั
เข้าใจ มีทักษะวิธีการทางศิลปะ เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างอิสระ
ในศิลปะแขนงต่างๆ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เกี่ยวข้องกับแขนงนาฏศิลป์ มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบนาฏศิลป์
์
แสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ ใช้ศัพท์เบื้องต้นทางนาฏศิลป์ วิเคราะห์วิพากษ วิจารณ์คุณค่า
นาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ประยุกต์ใช้
นาฏศิลป์ ในชีวิตประจำวัน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์กับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เห็นคุณค่าของ
นาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล
8.1.3 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 3 นาฏศิลป์
มาตรฐาน ศ 3.1 เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์
คุณค่านาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ 3.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็น
คุณค่า ของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
8.1.4 คุณภาพผู้เรียนเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
1) รู้และเข้าใจการใช้นาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครในการแปลความและสื่อสารผ่าน
การแสดง รวมทั้งพัฒนารูปแบบการแสดง สามารถใช้เกณฑ์ง่ายๆ ในการพิจารณาคณภาพ การแสดง วิจารณ์
ุ
เปรียบเทียบงานนาฏศิลป์ โดยใช้ความรู้เรื่ององค์ประกอบทางนาฏศิลป์ ร่วมจัดการแสดง นำแนวคิดของ
การแสดงไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน