Page 13 - นวัตกรรมกครูกาญจนา คิง
P. 13
8
อะไรในศิลปะ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ วิสัยทัศน์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ค่านิยมหลักของคนไทย 12
ประการ ตามนโยบายของ คสช. ทักษะมีจำเป็นในศตวรรษที่ 21 คุณภาพของผู้เรียน ตัวชี้วัดกลุ่มสาระการ
เรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โครงสร้างหลักสูตรและเวลา
เรียน คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
3. วิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้แบบวิเคราะห์เอกสาร ศึกษาและ
วิเคราะห์จากเอกสาร และตำรา เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ SIMAA Model (Joyce and
Weil. 2009: 25-34 ; ทิศนา แขมมณี. 2553: 224) แนวคิดการสอนกลุ่มที่เน้นพฤติกรรมนิยมของมนุษย์ (The
behavioral family) แนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติ และรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ นำเสนอในรูปแบบ
พรรณนาความ
์
4. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งข้อมูลบุคคล ประกอบด้วยการสัมภาษณความคิดเห็นของ
กลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จำนวน 3 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ทมีโครงสร้าง (Structure
ี่
Interview) และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ (Formal Interview) ซึ่งผู้รายงานดำเนินการสัมภาษณ์
ด้วยตนเอง
5. ศึกษาแนวคิดที่ได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำมากำหนดกรอบโครงร่างและ
ออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ SIMAA Model
กิจกรรมที่ 3 การวางแผนออกแบบการจัดการเรียนรู้ (Plan)
6. สร้างรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ SIMAA Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ เรื่อง
การฟอนนาฏยประดิษฐ์ บูชาพระธาตุเชิงชุม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
้
ปีที่ 1 โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนการสอน
ออนไลน์ ทำให้ได้รายละเอียดหัวข้อความสำคัญของรูปแบบ แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ
องค์ประกอบของรูปแบบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล
7. ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้รายงานเลือกเนื้อหา เรื่อง การฟ้อนนาฏยประดิษฐ์
บูชาพระธาตุเชิงชุม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มาจัดทำแผนการจัด
การเรียนรู้ จำนวน 6 แผน ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 12 ชั่วโมงโดยยึดองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ให้ได้
สาระครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ หัวแผน สาระการเรียนรู้/มาตรฐาน/ผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม
นาฏศิลป์พื้นเมือง ผลการเรียนรู้ สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนสามารถ สาระ
การเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์กระบวนการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
การวัดและประเมินผล ความคิดเห็น (ผู้บริหาร/หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย) กิจกรรมเสนอแนะ ความคิดเห็นและ
ข้อเสนอแนะของฝ่ายวิชาการ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหาร บันทึกผลหลังการสอน และเกณฑ์
การให้คะแนน
8. สร้างแบบประเมินทักษะปฏิบัติ การฟ้อนนาฏยประดิษฐ์ บูชาพระธาตุเชิงชุม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประเมินให้คะแนนแบบ Rubrics
9. ตรวจสอบคุณภาพองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ SIMAA Model
แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินทักษะ โดยสมาชิกในกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จำนวน
3 คน เพอพิจารณาความถูกต้อง เหมาะสม และตรวจสอบความสอดคล้องเชิงโครงสร้าง (Construct
ื่
Validity) โดยใช้แบบประเมินความสอดคล้องที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale)
การประเมินความเหมาะสม/สอดคล้องเชิงโครงสร้างกำหนดเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้ (มาเรียม นิลพันธุ์.
2555: 179)