Page 16 - นวัตกรรมกครูกาญจนา คิง
P. 16
11
2) ครูขออนุญาตนักเรียนที่ส่งคลิปการฝึกทักษะปฏิบัติ มานำเสนอที่ห้องเรียนออนไลน์
เพื่อให้เพอนในห้องเรียนออนไลน์ร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อผลงาน จุดดีที่ควรทำต่อ จุดด้อยที่ควรนำไป
ื่
แก้ไขขอบกพร่อง
้
3) ครูเสนอแนะเพิ่มเติมให้เทคนิคฝึกทักษะปฏิบัติ โดยการเปิดยูทูปการแสดงท่านาฏย
ศัพท์ จากเพจห้องเรียนนาฏศิลป์ของครูกาญจนา คิง ให้นักเรียนดูประกอบการอธิบายอีกครั้ง
ขั้นที่ 5 การปรับปรุงและประยุกต์ใช้ (Adaptation)
1) ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปจุดประสงค์การเรียนรู้ ครูบอกข้อบกพร่องจากการสังเกต
การฝึกปฏิบัติจากคลิปที่นักเรียนส่งมาในภาพรวม และให้นักเรียนนำข้อบกพร่องไปแก้ไขให้ถูกต้อง
2) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามปัญหา ข้อสงสัยต่าง ๆ แล้วนัดหมายการเรียน
ในชั่วโมงเรียนต่อไป แล้วให้นักเรียนทำแบบทดสอบข้อ ใน Google Form
3. ขั้นหลังการทดลอง ให้กลุ่มเป้าหมายปฏิบัติทักษะปฏิบัติ แล้วนำคะแนนที่ได้จากการ
ทดสอบทกษะปฏิบัติมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ เพื่อสรุปผลการวิจัย
ั
ตารางที่ 1 การจัดเวลาในการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ SIMAA Model
เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ เรื่อง การฟ้อนนาฏยประดิษฐ์ บูชาพระธาตุเชิงชุม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
วัน/เดือน/ปี เรื่อง จำนวนชั่วโมง
วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 ความรู้พื้นฐานด้านนาฏยศัพท์ 2
วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 ความรู้พื้นฐานด้านภาษาท่า 2
วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ประวัติความเป็นมาของวัดพระธาตุเชิงชุม 2
แนวคิดการประดิษฐ์ฟ้อนนาฏยประดิษฐ์
บูชาพระธาตุเชิงชุม
วันที่ 4 สิงหาคม 2564 การปฏิบัติท่ารำนาฏยประดิษฐ์บูชา 2
พระธาตุเชิงชุม “ท่าถือต้นผึ้งถวาย”
วันที่ 11 สิงหาคม 2564 การปฏิบัติท่ารำนาฏยประดิษฐ์บูชา 2
พระธาตุเชิงชุม “ท่านารีวาดกร, ท่านพกรบูชา”
วันที่ 18 สิงหาคม 2564 การปฏิบัติท่ารำนาฏยประดิษฐ์บูชาพระธาตุ 2
เชิงชุม “ท่านอบน้อมวันทา”
รวม 12
3. การประเมินการทดลองใช้รูปแบบ
ผู้รายงานนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาประเมินการทดลองใช้รูปแบบ ดังนี้
1. วิเคราะห์คุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ SIMAA Model โดยใช้สถิติ
ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. วิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยทักษะปฏิบัติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วย
รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ SIMAA Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ เรื่อง การฟ้อนนาฏยประดิษฐ์