Page 7 - นวัตกรรมกครูกาญจนา คิง
P. 7

2


               รํานาฏศิลป์และหลักการใช้นาฏยศัพท์ของนาฏศิลป์ภาคกลางมาใช้เป็นท่ารํา ตีบทตามความหมายบทร้อง และ
               การการฟ้อนบูชาพระธาตุเชิงชุม ชุดนี้ได้รับการถ่ายทอดจากบุคคลหลายชั่วอายุคนต่อ ๆ กันมา อาจมีการ

               ปรับเปลี่ยนหรือประดิษฐ์ท่ารําเพิ่มเติมบ้าง ทั้งนี้ก็สืบเนื่องมาจากความต้องการที่จะสืบทอดการแสดงชุดนี้ให้
               เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านให้คงอยู่คู่จังหวัดสกลนคร ตลอดไป (กรรณิการ์ ศรีไชยะ, 2563, มีนาคม 29)
                                                                          ั
                         ผู้รายงานได้ศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกบจุดมุ่งหมายของการสอนทักษะปฏิบัติ
               วิชานาฎศิลป์ ซึ่ง จินตนา  ศิริธัญญารัตน์ และวัชรา  เล่าเรียนดี (2562: 91) ได้เสนอว่าการจัดการเรียนการ

               สอนไม่ควรใช้รูปแบบการสอน หรือกลยุทธ์การสอนเพียงวิธีเดียว แต่มาจากหลาย ๆ รูปแบบที่เหมาะสมที่สุดมี
               ประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับวัตถุประสงค์ใด วัตถุประสงค์หนึ่งแล้วนำมาผสมผสานหรือบูรณาการใช้ร่วมกันอย่าง
               หลากหลายและเหมาะสม จึงจะสร้างและพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณภาพได้ ผู้เรียนจะต้องมีทั้งความรู้ วิธีการเรียนรู้
               ทักษะต่าง ๆ และความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้รายงานจึงได้ศึกษาการสอนกลุ่มที่เน้นพฤติกรรม

               นิยมของมนุษย์ (The behavioral family) รูปแบบการสอนกลุ่มพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ (behavioral
               model) รูปแบบการสอนในกลุ่มนี้มีพื้นฐานจากทฤษฎีการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม เช่น รูปแบบการสอนแบบ
               Direct instructional เพราะ รูปแบบการสอน Direct instructional ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มี
               ขั้นตอนการเรียนการสอนตามลำดับ โดยครูมีบทบาทสำคัญมากที่สุด ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับความรู้ การอธิบายและ

               ฝึกปฏิบัติ มีการคอยดูแล การปฏิบัติ มีการคอยแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียนโดยใช้ข้อมูลย้อนกลับ
               (วัชรา  เล่าเรียนดี, 2558) ผู้รายงานเห็นว่าแนวคิดดังกล่าวข้างต้นเหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ในวิชา
               นาฎศิลป์ เนื่องจากเป็นรายวิชาที่มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องนาฏศิลป์พื้นเมืองอีสาน

                                                                                      ี
               สามารถปฏิบัติการฟ้อนนาฏยประดิษฐ์ บูชาพระธาตุเชิงชุมได้ถูกต้องตามจังหวะและมความสวยงาม ชื่นชม
               และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เหมาะสมอ (โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา”. 2563 : 4)
                         สถานการณ์ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease
               2019-COVID-19) โดยองค์การอนามัยโลกได้ประกาศ เป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข ทำให้โรงเรียน
               มัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ ผู้รายงานจึงต้องปรับ

               รูปแบบการสอนปกติเป็นรูปแบบการสอนออนไลน์ โดยได้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการการประชุมผ่านสื่อ
                                                               ์
               อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในสถานการณแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
               (Covid-19) ในวันที่ 28 -29 พฤษภาคม 2564 จัดโดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร จึงได้แนวทาง

               การออนไลน์ที่จะนำมาใช้ โดยได้เลือกวิธีการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านโปรแกรมการประชุมออนไลน์ คือ
               โปรแกรม Google Meet ซึ่งเป็นโปรแกรมการประชุมวิดีโอทางไกลที่ผู้สอนสามารถเตรียมเอกสาร
               ประกอบการสอน เช่น PowerPoint วิดีโอ รูปภาพ เอกสารการสอนในรูปของไฟล์ Word เป็นต้น โดยที่ผู้สอน
                                       ั
               และผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพนธ์ระหว่างการเรียนการสอนได้ รวมทั้งสามารถบันทึกไฟล์ภายหลังการสอน
               เพื่อให้สามารถเรียนย้อนหลังได้
                         ดังนั้นผู้รายงานจะนำทฤษฎีของรูปแบบการสอนกลุ่มพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ แนวคิดหลักการ
               สอนทักษะปฏิบัติ วิธีการเรียนการสอนออนไลน์มาเป็นพื้นฐานพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์
                                                           ้
               SIMAA Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ เรื่อง การฟอนนาฏยประดิษฐ์ บูชาพระธาตุเชิงชุม กลุ่มสาระการ
                                                           ื่
               เรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพอให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้เรียนสามารถท ี่
               นำความรู้ นำทักษะปฏิบัติ ไปใช้ในการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน สามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ และ
               ร่วมอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นจังหวัดสกลนครให้คงอยู่และสืบทอดสู่อนุชนรุ่นหลังต่อไป
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12