Page 29 - นวัตกรรม ดร.นันทนา ลีลาชัย
P. 29

๒๓


                       โดยใช้แนวคิดเดิม แต่เปลี่ยนตัวละคร ฉาก โครงเรื่อง เขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่อง เรียบเรียงเป็น
                       งานเขียนบันเทิงคดีเรื่องใหม่ ที่มีเค้าโครงเดิม
                                   2.2 ให้ตัวแทนนักเรียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนในครั้งนี้ และสะท้อนผล จุดดีท ี่
                       ควรจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป จุดด้อยที่ควรต้องพัฒนา

                                   2.3 ครูนัดหมายการเรียนครั้งต่อไป
                                 การเตรียมการล่วงหน้า
                                   มอบหมายให้นักเรียนศึกษาแนวทางการเขียนบันเทิงคดี และจับคู่แลกเปลี่ยนงาน

                       เขียนบันเทิงคดี ตามแนวทางการเขียนบันเทิงคด  ี
                                 ชั่วโมงที่ 3-4
                                   ขั้นที่ 3 การสื่อสารและการสะท้อนคิด  (Communication)
                                     3.1 ครูเปิดห้องเรียนผ่านสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ Google meet เพื่อให้

                               ้
                       นักเรียนไดนำแผนภาพโครงเรื่อง ร่างงานเขียน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สื่อสารและสะท้อนคิดกับ
                       เพื่อนร่วมชั้นเรียน
                                    3.2 ให้นักเรียนจับคู่แลกเปลี่ยนกันอ่านงานเขียน ลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน ให้
                                                               ้
                       ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมและช่วยตรวจสอบความถูกตองในการเขียนในประเด็นต่อไปนี้
                                       ๑) แนวคิดของเรื่อง ต้องพิจารณาว่าแนวคิดเรื่องนั้นสามารถเชื่อมโยง
                       ปมปัญหาและเนื้อเรื่องทั้งหมดได้หรือไม่ ซึ่งหมายถึงผู้เขียนสามารถเสนอต่อผู้อ่านได้อย่างชัดเจน
                                       ๒) โครงเรื่อง โครงเรื่องที่ดีไม่จำเป็นต้องสลับซับซ้อน แต่ต้องมีกลวิธีการแต่ง
                       ที่น่าสนใจชวนติดตาม

                                        ๓) กลวิธีการแต่ง
                                         ๓.๑) การเปิดเรื่อง การเปิดเรื่องทำได้หลายแบบ เช่น บรรยายลักษณะตัว
                       ละครบรรยายฉาก หรือนำปมปัญหามาสร้างความฉงนแก่ผู้อ่าน

                                                               ์
                                         ๓.๒) การดำเนินเหตุการณในเรื่อง ส่วนมากเป็นการสร้างปม ผูกปมความ
                       ขัดแย้งสร้างอุปสรรคต่างๆ หรือเป็นการดิ้นรนต่อสู้ของตัวละคร ผู้แต่งสร้างปมขัดแย้งใดแก่ตัว
                       ละคร เป็นความขดแย้งกับตนเอง ความขัดแย้งกับผู้อื่น ความขัดแย้งกับสังคม หรือขัดแย้งกับ
                                     ั
                       ธรรมชาต  ิ
                                         ๓.๓) การปิดเรื่อง เรื่องจบลงอย่างไร คือ จบแบบเศร้า จบแบบหวานชื่น

                       จบตามที่เป็นจริงในชีวิต หรือจบแบบพลิกความคาดหมาย ถ้าทั้งสามส่วนสัมพันธ์สอดคล้องกันด  ี
                       ก็จัดว่าเป็นเรื่องสั้นที่ด  ี
                                         ๓.๔) ตัวละคร ดูว่าตัวละครในเรื่องถูกกำหนดขึ้นตามสภาพความเป็นจริง

                       ในสังคมหรือไม่บทสนทนาเหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะตัวละครหรือไม่ โดยพิจารณาจาก
                       พื้นฐานชีวิตตัวละคร
                                         ๓.๕) บรรยากาศ บรรยากาศในเรื่องช่วยเสริมสร้างอารมณ์สะเทือนใจแก่
                       ผู้อ่านหรือไม่ ช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงแก่นเรื่อง โครงเรื่อง และรู้จักตัวละครดีขึ้นเพียงใด มีความ

                       เหมาะสมสอดคล้องเพียงใด
                                         ๓.๖) ฉาก ดูว่าผู้เขียนสามารถบรรยายฉากในเรื่องได้ชัดเจนเพียงใด
                       เหมาะสมหรือไม่
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34