Page 9 - นวัตกรรม ดร.นันทนา ลีลาชัย
P. 9
3
ผู้รายงานได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการจากเอกสารและงานวิจัยต่างๆ ที่จะสามารถ
นำมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่าทฤษฎีการสร้างความรู้
้
ี่
(Constructivist Theory) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ทเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะนำมาใชในการเปลี่ยนแปลงการ
จัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดวิธีการเรียนรู้มากกว่าให้ความรู้โดยตรง เน้นการปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้จากสถานการณ ์
มากกว่าการเรียนรู้เพื่อการจำตามที่ครูบอก มีความแตกต่างจากการเรียนรู้แบบเดิมที่เน้นครูเป็นผู้ให้ความรู้
์
เป็นสำคัญ (มนตชัย พงศกรนฤวงษ์ (2552) ; จิราภรณ์ พิมใจใส (2553) และ รุจิราพร รามศิริ (2556)) ดังที่
่
ู้
วัชรา เลาเรียนดี (2553: 73-78) ให้ความคิดเห็นว่าการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
นั้น ผู้เรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น แทนที่จะเป็นเพียงผู้คอยรับความรู้จากครูฝ่ายเดียว
และได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยจัดสถานการณ์หรือปัญหาท ี่
เร้าความสนใจ ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการคิดและปฏิบัติกล้าคด กลาตอบ กล้าอธิบาย อภิปรายและแสดง
้
ิ
ความคิดเห็น พยายามใช้ข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้จริง ของจริงและการร่วมปฏิบัติจริงหรือให้ตัวอย่างสถานการณ ์
จริงด้วยภาพ ด้วยสื่อการเรียนรู้อื่นๆ หลีกเลี่ยงการอธิบายที่มากจนเกินไป เพื่อให้ผเรียนมีโอกาสคิด จัด
ู้
ิ
ิ
กิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ การคดไตร่ตรอง มีการตรวจสอบความเข้าใจ ประสบการณ์เดมที่เกี่ยวข้อง
กับการเรียน ให้ความรู้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการสืบค้นเพื่อสร้างความเข้าใจใหม่ที่จะเรียน จัดกลุ่มผู้เรียน
หลาย ๆ แบบให้ร่วมมือกันเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความเชื่อ และให้เวลาอย่างพอเพียงสำหรับการ
ี่
สร้างความหมายสิ่งทจะเรียนรู้ วัดและประเมินผลการเรียนตลอดกระบวนการเรียนรู้ ใช้วิธีวัดและประเมินท ี่
หลากหลายเหมาะสม เช่น ถาม ตอบปากเปล่า ให้สาธิต ให้สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมทันที ทดสอบย่อย เสนอ
ผลงาน ชิ้นงานที่สะท้อนให้เห็นองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้
เตรียมความพร้อมของผู้เรียน จูงใจเร้าความสนใจให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
ิ
ิ
ั
ตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน จดโอกาสและเปดโอกาสให้ปฏิบัติโดยตรง ให้ผู้เรียนคดไตร่ตรองและสะท้อน
ความคิดเกี่ยวกับบทเรียน ให้การฝึกเพิ่มเติมหรือให้ทำโดยอิสระ ดังนั้นผู้รายงานจึงเห็นว่าการจัดการเรียนรู้
ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivist Theory) จะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านแล้วเกิด
การเรียนรู้และมองเห็นกระบวนการในการสร้างสรรค์ผลงานแล้วนำไปสู่การพัฒนาทักษะการเขียนของตนเอง
ี
ุ
จนบรรลุเป้าหมายได้ดที่สดนั้น
นอกจากนี้ผู้รายงานยังได้ศึกษาแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning) ที่สามารถ
นำมาใช้ในการพัฒนาทักษะการเขียนได เพราะการถ่ายโยงการเรียนรู้ มีแนวคิดสำคัญ คือ การนำเอาข้อมูล
้
ความรู้ กลวิธี ตลอดจนสถานการณ์ที่เคยได้รับรู้ หรือ ได้เรียนรู้มาก่อนหน้า นำมาเป็นแนวทางในการเรียนรู้
่
งานครั้งใหม่ที่มีความคลายคลึงกับสถานการณ์ก่อนหน้าได้ การถ่ายโยงการเรียนรู้จึงเป็นแนวคิดที่ชวยให้ผู้เรียน
้
สามารถสร้างสรรค์งานในครั้งใหม่ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และง่ายขึ้นได้ ทั้งในด้านของการถ่ายโยงทาง
ความคิด (concept) หลักการ (principles) กระบวนการแก้ปัญหา ทักษะและเจตคติ (Gagne, 1970) ดังนั้น
ผู้รายงานจึงจะนำแนวคิดนี้มาใช้ในการสอนทักษะการเขียน คือให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้องค์ประกอบของงาน
เขียนต้นฉบับว่ามีลักษณะรูปแบบอย่างไร เพื่อจะนำมาใช้เป็นแนวทางในการสร้างงานเขียนเรื่องของตนได ้
จากการศึกษาความสำคัญ สภาพปัจจุบันและปัญหา และทฤษฎีและแนวคิดทจะนำมาแก้ปัญหา
ี่
ผรายงานจึงสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิดการ
ู้
ถ่ายโยงการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยคาดหวัง
ว่าผลการวิจัยครั้งนี้จะสามารถเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ภาษาไทยได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ผลจาก
้
การวิจัยจะเป็นแนวทางให้ครูนำกระบวนการดังกล่าวไปปรับใชให้เหมาะสม อีกทั้งยังเป็นแนวการพัฒนาการ
เรียนการสอนวิชาภาษาไทย แล้วนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลดีกับเด็กได้ในทุกสาขาวิชาในโอกาสต่อไป