Page 7 - นวัตกรรม ครูภาวิณี เพ็งธรรม
P. 7
2
ต่อการด ารงชีวิตมนุษย์ นักเรียนสามารถน าความรู้จากการประกอบอาหารไปใช้ในชีวิตประจ าวัน เป็นพื้นฐาน
ประกอบอาชีพ ส่งเสริมฐานะครอบครัวและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น แต่สภาพการจัดการเรียนการสอน วิชาอาหาร
ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” มีปัญหาหลาย
ประการ เช่น ครูใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย ขาดสื่อการสอนที่น่าสนใจ นักเรียนมีผลการเรียนรู้ที่ต ่ากว่าเกณฑ์
ที่ก าหนด
ในสถานการณ์ปัจจุบัน เกิดการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งเกิดผลกระทบต่อการจัดการ
เรียนรู้แบบปกติ ครูต้องปรับวิธีการสอนในห้องเรียนเป็นรูปแบบเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งผู้รายงานได้เข้า
อบรมเชิงปฏิบัติการการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในวันที่ 28 -29 พฤษภาคม 2564 จัดโดยส านักงานศึกษาธิการ
จังหวัดสกลนคร จึงได้น าโปรแกรมน์ Google MEET มาช่วยจัดการเรียนรู้ออนไลน์
จากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเห็นว่าครูจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาท
การสอนจากครูเป็นผู้บอกความรู้มาเป็นผู้ให้ค าแนะน าผู้เอื้ออ านวยความสะดวก ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
ด้วยตนเองและท าให้การสร้างองค์ความรู้จนสามารถน ามาสร้างผลงานที่ชัดเจนรูปแบบหนึ่งคือ การสอนตาม
ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constuctionism) พัฒนาขึ้นโดย Seymour Papert นักการศึกษาที่มี
ชื่อเสียงแห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเสตต์ สหรัฐอเมริกา (MIT Media Lab) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้น
ผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นความรู้ที่ไม่ใช่มาจากการสอนของครูเพียงอย่างเดียว แต่ความรู้จะ
เกิดขึ้นและถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระท าด้วยตนเอง
(Learning by doing) (กระทรวงศึกษาธิการ, 2557 :12) สอดคล้องกับ David J and Ann (1996 อ้างถึงใน
อุทิศ บ ารุงชีพ, 2551:3) ได้กล่าวว่าการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จะท าให้ผู้เรียน
สามารถน าความรู้ที่เรียนไปใช้ได้จริงโดยความรู้นั้นจะเกิดได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Constructors)
ผู้ผลิต (Producers) และการปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม
แนวคิดดังกล่าวสัมพันธ์กับนักจิตวิทยาชาวสวิส คือ Piaget ซึ่งมีความเชื่อว่าผู้เรียนสามารถ
เรียนรู้ได้กับเรื่องราวที่เขานั้นสนใจ โดยการแก้ปัญหาและสร้างความรู้ขึ้นเองในขั้นตอนของการคิดเพื่อหาทาง
แก้ปัญหาและการปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวของผู้เรียนแต่ละบุคคล ความเชื่อดังกล่าวคือ
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ของ Piaget เป็นลักษณะแนวคิดที่เด่นชัดในการเรียนรู้
แบบพุทธิปัญญา (Cognitive Learning) คือ ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง จากความเชื่อและ
ประสบการณ์ที่ได้รับจากแนวคิดดังกล่าว Seymour Papert ได้พัฒนาต่อยอดตลอดจนได้มีการท าวิจัยใน
สภาพห้องเรียนปกติ ท าให้มีพัฒนาการของทฤษฎีดังกล่าวมาตามล าดับจาก Constructivism มาสู่
Constructionism แต่ยังยึดหลักรากฐานเดียวกันแต่อาจมีความแตกต่างกันในส่วนรูปแบบการปฏิบัติ คือ
Constructionism มีเอกลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นโดยการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ดีเมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ
สร้างผลิตผลที่มีความหมายกับผู้เรียน (บุปผชาติ ทัฬหิกรห์, 2546 หน้า 18) ออกมาในลักษณะการใช้สื่อ วัสดุ
และอุปกรณ์ต่าง ๆ สร้างสรรค์เป็นชิ้นงาน โครงงาน