Page 15 - รายงานการสร้างนวัตกรรม นายวิทยา อำพล
P. 15
9
9. การออกแบบนวัตกรรม
้
การวิจัยครั้งนี้ ผู้รายงานไดออกแบบนวัตกรรม โดยได้ดำเนินการเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพและความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนาคร ู
ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกับ
แนวคิดความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓
“ยุติธรรมวิทยา”
1. เนื้อหา
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการเกี่ยวกับรูปแบบ,การพัฒนาครู, ทักษะการจัดการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21, กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, แนวคิดความผูกพันต่อองค์กร , คุณภาพของ
ผู้เรียน และรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา และงานวิจัยเกี่ยวข้อง
ั
้
2. กลุ่มเป้าหมาย ประกอบดวย 2 กลุ่ม ดงนี้
2.1 ครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” สังกัดเทศบาลนคร
สกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร จำนวนทั้งสิ้น 55 คน
2.2 ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัด
สกลนคร จำนวนทั้งสิ้น 16 คน
3. ตัวแปรที่ศึกษา คือ ข้อมูลพื้นฐาน สภาพและความต้องการจำเป็นของครูด้านทักษะ
การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ร่วมกับแนวคิดความ
ผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” อำเภอ
้
เมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ใน 4 ดาน ดังนี้ 3.1) ด้านการวางแผนจัดการเรียนรู้ 3.2) ด้านการ
ออกแบบการเรียนรู้ 3.3) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) 3.4) ทักษะการสื่อสารและการ
ร่วมมือทำงาน
4. ระยะเวลา ดำเนินการในช่วงเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม 2563
ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านทักษะการจดการเรียนรู้ใน
ั
ุ
ศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกับแนวคิดความผูกพันต่อองค์กรที่
ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา”
ตอนที่ 1 ยกร่างรูปแบบการพัฒนาครูด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช ้
กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกับแนวคิดความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพของ
ู้
ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” แล้วนำร่างรูปแบบฯ ไปให้ผเชี่ยวชาญ จำนวน 9
คน ตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) โดย
มีขอบเขตดังนี้
1) เนื้อหา ได้แก่ องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาครูด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกับแนวคิดความผูกพันต่อองค์กรท ี่
ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา”