Page 17 - รายงานการสร้างนวัตกรรม นายวิทยา อำพล
P. 17
11
3) ตัวแปรที่ศึกษา
3.1) ตัวแปรต้น ได้แก่ รูปแบบการพัฒนาครูด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษท ี่
่
21 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกับแนวคิดความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลตอ
์
คุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” มีองค์ประกอบ ดังนี้ องคประกอบ
ที่ 1 แนวคิด องค์ประกอบที่ 2 หลักการ องค์ประกอบที่ 3 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 4 ปัจจัยนำเข้า
องค์ประกอบที่ 5 กระบวนการพัฒนา องค์ประกอบที่ 6 การวัดและประเมินผล และองค์ประกอบที่ 7
ปัจจัยสนับสนุน
3.2) ตัวแปรตาม ได้แก่
3.2.1) ความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ู้
ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผสอน
3.2.2) ความสามารถในการเขียนแผนการจดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ั
ของครู
3.2.3) ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา
เทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” คือ 1) ด้านการวางแผนจัดการเรียนรู้ 2) ด้านการออกแบบการเรียนรู้
3) ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) 4) ด้านทักษะการสื่อสารและการร่วมมือทำงาน
4) ระยะเวลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 (ธันวาคม 2563 - มีนาคม 2564)
ี
ระยะที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาครูด้านทักษะการจัดการเรยนร ู้
ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกับแนวคิดความผูกพันตอ
่
องค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา”
ผู้รายงานนำรูปแบบการพัฒนาครูฯ ที่ได้ทดลองใช้แล้ว มาวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นกับ
นักเรียนแล้วให้ครูกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 55 คน ได้ร่วมปรับปรุงพัฒนารูปแบบ ด้วยวิธีการประชุมกลุ่ม
จากนั้นให้ครูประเมินรูปแบบ เกี่ยวกับความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุม
โดยมีขอบเขตดังนี้
1) เนื้อหา มุ่งประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาครูด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกับแนวคิดความผูกพันต่อองค์กรท ี่
ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” ตามความคิดเห็นของคณะ
ครูเกี่ยวกับความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุม
2) แหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูลในการพัฒนาและประเมินรูปแบบฯ คือ นักเรียนและครู
โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive
Selection)